Accessibility Tools

ศาลจังหวัดเวียงสระ
Wiang Sa Provincial Court
image

ศาลจังหวัดเวียงสระ

คลินิกที่ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมimage

คลินิกที่ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม

คลินิกจิตสังคม เป็นคลินิกที่ให้คำปรึกษาด้านจิตสังคมแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา โดยมี เป้าหมายระยะสั้น เพื่อแก้ไขปัญหาในระยะวิกฤติจัดการกับภาวะความตึงเครียด ด้านอารมณ์ จิตใจแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ลดการหนีคดีหรือหนีประกันระหว่าง ดำเนินคดี และมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อให้ ผู้รับคำปรึกษามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางบวกมีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นและไม่ก่อคดีซ้ำ

กฎหมายและลักษณะผู้รับคำปรึกษา

• ผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างชั้นสอบสวนเมื่อศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๐๘ วรรคท้าย โดยกำหนดเงื่อนไขให้รับคำปรึกษาด้านจิตสังคม
 • จำเลยที่ศาลพิพากษาให้รอการกำหนดโทษหรือ รอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๕๖ และกำหนดเงื่อนไขให้เข้ารับคำปรึกษาด้านจิตสังคม

ผู้รับคำปรึกษาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดต่าง ๆ ดังนี้

• กระทำความผิดเกี่ยวกับสารเสพติด
• คดีความรุนแรงในครอบครัวที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ รวมทั้งผู้เสียหาย
• คดีความผิดเกี่ยวกับเพศที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เช่น พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นต้น

บทบาทของผู้ให้คำปรึกษา

ผู้ให้คำปรึกษา มีบทบาทหลัก ๓ บทบาท ได้แก่

๑) Facilitator (ผู้เอื้อให้เกิดการเรียนรู้) คือ ผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้สนับสนุนให้เกิดความตระหนักความเข้าใจตนเอง

๒) Life-coach ( ผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ) คือ ผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเลือกเส้น ทางเดินชีวิตที่มีเป้าหมายเป็นไปได้และนำไปสู่ความสำเร็จ

๓) Psychoeducator (ผู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต) คือ ผู้ที่ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพจิต ทั้งนี้ ผู้ให้คำปรึกษาไม่ใช่ผู้พิพากษาจึงไม่ได้มีหน้าที่ในการตัดสินใจเกี่ยวกับคดีและไม่ใช่แพทย์หรือผู้รักษา แต่สามารถให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ ผู้ให้คำปรึกษาต้องเตือนตนเองให้ปฏิบัติตนตามบทบาทของผู้ให้คำปรึกษา และไม่ล้ำเส้นหรือสำคัญตนผิดในสิ่งที่ไม่ใช่บทบาทของตน

ประโยชน์ของผู้เข้ารับคำปรึกษา

1. ได้รับโอกาสปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมในช่วงวิกฤต

2. ฟื้นฟูจิตใจและคุณภาพชีวิต

3. พัฒนาสัมพันธภาพภายในครอบครัว

4. ลดความเสี่ยงในการกระทำความผิดซ้ำ

ประโยชน์ต่อสังคม

1. รู้สึกอุ่นใจปลอดภัยมากขึ้น

2. คืนคนดีสู่สังคม

3. ประชาชนสามารถรับคำปรึกษาได้